สมัยกรุงธนบุรี


สมัยกรุงธนบุรี

          เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกในวันอังคารขึ้น ค่ำ ปีกุน .. ๒๓๑๐ สิ้นพระราชวงศ์ที่จะปกครองพระราชอาณาจักร บ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไปก็คิดตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้า มีรวมด้วยกัน ชุมนุม คือ
          ชุมนุมที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชา ขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี เมื่อถึงข้างขึ้น เดือน ๑๒ ปีกุน .. ๒๓๑๐ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นมาโจมตีทหารพม่า ซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรีกับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
          ชุมนุมที่ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลก มีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์
          ชุมนุมที่ พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝางเมืองสวางคบุรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นเรียกว่า เจ้าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่เหนือเมืองพิชัยและติดต่อกับแพร่ น่าน หลวงพระบาง
          ชุมนุมที่ พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชเรียกกันว่าเจ้านคร มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนเมืองชุมพร
          ชุมนุมที่ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ที่เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของนครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์  พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น
          เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีชัยขับไล่พวกพม่าไปจากพระนครศรีอยุธยา และมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานีเรียบร้อยแล้วก็ทรงเริ่มปราบปรามชุมนุมอิสระทั้ง ดังกล่าวมาโดยยกกองทัพไปตีเมืองพิษณุโลก เมื่อฤดูน้ำ ปีชวด .. ๒๓๑๑ แต่ไปถูกอาวุธข้าศึกต้องล่าถอยกลับมา พอมาถึงฤดูแล้งในปีชวดนั้น ก็ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา กองทัพกรุงธนบรีที่ยกไปครั้งนี้แบ่งเป็น กองทัพ กองทัพที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จคุมไปเอง ยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟเข้าตีทางด้านตะวันตกทางหนึ่ง ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระราชวรินทร์ กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสรุสิงหนาท เมื่อยังเป็นพระมหามนตรีคุมกองทัพขึ้นไปทางช่องเรือแตก (เข้าใจว่าช่องสะแกราช) เข้าตีทางด้านใต้ทางหนึ่ง ฝ่ายเจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือพระพิมาย) เป็นแม่ทัพใหญ่ ให้มองย่าปลัดทัพพม่าที่หนีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปจากพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ปรึกษา คุมกองทัพมาต่อสู้รักษาเขตแดน ครั้งนั้นกำลังรี้พลของเจ้าพิมายเห็นจะมีน้อยไม่พอรักษาป้อมปราการเอาเมืองนครราชสีมาเป็นที่มั่น จึงปรากฏว่ากองทัพเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านจอหอ ข้างเหนือเมืองนครราชสีมาแห่งหนึ่งแล้วให้บุตรซึ่งเป็นที่พระยาวรวงศาธิราชคุมกองทัพมาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านกระโทก (เวลานี้คือ อำเภอโชคชัย) ข้างใต้เมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้ด่านจอหอ จับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ กองทัพพระมหามนตรีและพระราชวรินทร์ตีค่ายด่านกระโทกแตก พระยาวรวงศาธิราชหนีไปทางเมืองเขมรต่ำ กองทัพพระมหามนตรีกับพระราชวรินทร์ตามไปตีได้เมืองเสียมราฐอีกเมืองหนึ่ง เจ้าพิมายรู้ว่ากองทัพเสียทีก็หลบหนีหมายจะไปอาศัยเมืองเวียงจันทน์ แต่ขุนชนะกรมการเมืองนครราชสีมาตามจับมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรีได้ จึงทรงตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยานครราชสีมา (ต้นสกุลกาญจนาคม) แต่นั้นก็ได้เมืองนครราชสีมามาเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังต้องทำการปราบปรามพวกที่ตั้งเป็นอิสระอื่น เมื่อปราบปรามได้หมดแล้วยังต้องรบกับพม่า ต่อมาอีกหลายปีจึงมิได้จัดวางรูปการปกครองเมืองนครราชสีมาให้เป็นเขื่อนขัณฑ์มั่งคง เพราะเหตุนั้นเมื่อ .. ๒๓๑๘ เวลากรุงธนบุรีกำลังติดพันรบพุ่งกับพม่า คราวอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองเหนือ พระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา ไม่ชอบกับพระยานครราชสีมาแต่เดิม เห็นได้ทีจึงเอาเมืองไปขอขึ้นต่อเจ้าโอ ซึ่งครองเมืองจำปาศักดิ์เป็นอิสระอยู่ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าโอคาดว่าไทยคงสู้พม่าไม่ได้ก็รับไว้ พระยานางรองก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา ครั้นพม่าถอยทัพไปแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระยาจักรี เสด็จไปปราบปรามเมื่อ .. ๒๓๑๙ เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปยังเมืองนครราชสีมา แล้วให้กองหน้าไปจับได้ตัวพระยานางรองมาชำระความจึงทราบว่าเจ้าเมืองจำปาศักดิ์กำลังเตรียมกองทัพ จึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีจะขอไปตีเมืองจำปาศักดิ์ต่อไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา
สุรสิงหนาท เมื่อยังดำรงยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพหนุนเข้าไปอีกทัพหนึ่ง เจ้าพระยาทั้งสองยกกองทัพไปตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์และหัวเมืองทางฟาก แม่น้ำโขงฝั่งซ้ายจนถึงเมืองอัตบือ ได้หัวเมืองทางริมแม่น้ำโขงข้างใต้ตลอดจนต่อแดนกรุงกัมพูชา ซึ่งเวลานั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีอยู่ ได้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง คือ เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ ก็ยอมสวามิภักดิ์ขึ้นต่อไทยทั้ง เมือง ในครั้งนั้นราชอาณาเขตกรุงธนบุรีขยายต่อออกไปตลอดแผ่นดินสูงในตอนข้างฝ่ายใต้ เมืองนครราชสีมาได้ปกครองบังคับบัญชาเหล่าหัวเมืองที่ได้ใหม่ เมืองนครราชสีมาจึงเป็นเมืองสำคัญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น