สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

          เมื่อราว .. ๑๘๐๐ เศษ พ่อขุนรามคำแหงได้เสวยสิริราชสมบัติกรุงสุโขทัยมีอานุภาพมาก แผ่ราชอาณาเขตกว้างขวาง ดังปรากฏในศิลาจารึกแสดงเขตอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นว่าทิศเหนือตั้งแต่เมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดถึงแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันตกตลอดเมืองหงสาวดี ทางทิศใต้ตลอดแหลมมลายู แต่ทางทิศตะวันออกบอกเขตแดนทางแผ่นดินสูงเพียงตอนเหนือราวท้องที่จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย ไปถึงเวียงจันทน์ เวียงคำเป็นที่สุดไม่ปรากฏชื่อเมืองทางแผ่นดินสูงตอนใต้ กับทั้งทางแผ่นดินต่ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีเช่น เมืองลพบุรี เมืองอยุธยา ปราจีนบุรี เป็นต้น โดยเหตุนี้จึงมีคำสันนิษฐานเกิดขึ้นว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาณาจักรของขอมซึ่งมีกำลังแข็งแรงกว่าอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงจึงไม่อาจแผ่เดชานุภาพเข้ามา แต่เท่าที่ได้สังเกตศึกษาทั้งทางด้านศิลปและตำนานสงสัยว่าดินแดนเหล่านี้หาได้อยู่ในความปกครองของพวกขอมไม่ หากแต่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรไทยพวกหนึ่งซึ่งมีราชธานี เรียกว่า กรุงอโยธยา เป็นอาณาจักรที่มีมาตั้งแต่ราวพุทธศวรรษที่ ๑๖ และสิ่งสำคัญเป็นหลักฐานของอาณาจักรนี้ ก็คือศิลปกรรมอู่ทอง (หรือลพบุรีตอนต้น) อันมีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับศิลปกรรมของขอมอยู่มาจนกระทั่งถูกเข้าใจคลุม ไปว่าเป็นประดิษฐกรรมของพวกขอมเสียเกือบหมดสิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณวัตถุจำพวกหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เข้าใจว่าจะไม่สันทัดถนัดทำเลย) อาณาจักรอโยธยาคงจะรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ทั้งอำนาจและศิลปศาสตร์ จึงปรากฏในพงศาวดารทางลานนาประเทศว่า พ่อขุนรามคำแหงกับพ่อขุนงำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ขณะยังเยาว์วัยต้องลงมาศึกษาวิชาการ เมืองละโว้ (ลพบุรี) ในแว่นแคว้นนี้ถึงแม้ประเทศกัมพูชาอันมีพระนครหลวง เป็นราชธานีก็คงตกอยู่ในความปกครองระยะหนึ่งระยะใดในระหว่างพุทธศวรรษที่ ๑๙ เพราะตอนปลายพุทธศตวรรษนั้น เมื่ออาณาจักรอโยธยาเปลี่ยนผู้สืบสันติวงศ์ใหม่เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ จึงเกิดขอมแปรพักตร์ขึ้น ถึงกับต้องกรีธาทัพไปกำราบปราบปราม เวลานี้เรื่องราวของอาณาจักรอโยธยายังมืดมัวอยู่ แต่วัตถุพยานชี้ร่องรอยชวนให้ศึกษาค้นคว้ามีประจักษ์อยู่ คือ พระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ซึ่งขุดพบที่วัดธรรมิกราชขนาดใหญ่ที่ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา กับพระพุทธตรัยรัตนนายก วัดพนัญเชิง ซึ่งมีมาก่อนสร้างพระนครศรีอยุธยา พระเศียรพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่วัดเดิม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมารวมทั้งโบราณวัตถุสถานแบบอู่ทองที่มีอยู่ในพระนครหลวงประเทศกัมพูชา เช่นที่ปราสาทหินเทพประณม ปราสาทหินนครวัด ตลอดจนศิลาจำหลักบางชิ้นในพิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ อันเป็นของเคลื่อนย้ายไปจากกลุ่มปราสาทหินบรรยงก์เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น